ตามทริป มี 10 เส้นทาง ใครบ้านใกล้แถวไหนจัดไปค่ะ
เส้นทางที่ 1 ลัดเลาะกลางกรุง ชมสถาปัตยกรรมย้อนยุค
ตระเวนหาร้านอร่อย
จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟฟ้าตากสิน
ปลายทาง : เยาวราช
ระยะทาง : ประมาณ 6 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟฟ้าตากสิน
ปลายทาง : เยาวราช
ระยะทาง : ประมาณ 6 กิโลเมตร
หากไปถามความเห็นของมือใหม่หัดปั่น ทางที่หลายคนหวั่นวิตก
ไม่กล้าเอาจักรยานไปใช้ คงหนีไม่พ้นโซน “ในเมือง” เพราะมีภาพของรถเมล์คันใหญ่ยักษ์ไล่หลัง
รถยนต์ขับเบียด มอเตอร์ไซค์บีบแตรไล่ แต่สำหรับเส้นทางนี้ เราเข้าไปถึงเขต “บางรัก”
ที่ขึ้นชื่อว่ารถราหนาแน่นไม่แพ้ใครอย่างสะดวกสบาย
เพราะสามารถลัดเลาะซอกซอยได้อย่างสนุกสนาน
เส้นทางลัดเลาะกลางกรุงเริ่มต้นจาก บีทีเอสสถานีตากสิน
ปั่นตามถนนเจริญกรุงมาแวะวัดสวนพลู เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ที่นี่มีอะไรให้ดูให้ศึกษามากมาย เช่น หลวงพ่อพระป่าเลไลย์
รูปปั้นพระโพธิสัตย์กวนอิมประดิษฐานอยู่ในตำหนักหอไตร
สร้างเป็นเรือนไทยด้วยไม้สักทองทั้งหลัง
ปั่นต่อมาบางรัก แวะตึกเก่า ซอยโรงภาษี กองบังคับการตำรวจน้ำ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม
แม้จะเก่าไปตามกาลเวลาแล้วแต่ยังสะท้อนความยิ่งใหญ่ของการเดินทางค้าขายทางเรือในอดีต
เสร็จแล้วปั่นตามถนนเจริญกรุง มาแวะชมสถาปัตยกรรมที่สง่างามอีกแห่งที่ไปรษณีย์กลาง
ปั่นไปตามทางอีกนิดก็ถึงสี่พระยา
ตรงนี้สามารถเลี่ยงถนนใหญ่มาปั่นทางที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาได้ แวะชมโบสถ์กาลหว่าร์
โบสถ์คริสต์เก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
และเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวคริสเตียนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯ และใกล้ๆ
กันมีอาคารธนาคารไทยพาณิชย์ และกรมเจ้าท่าที่สวยงามและน่าศึกษา
ปั่นตรงมาอีกหน่อยถึงตลาดน้อยแล้วมีของกินมากมายให้เติมพลัง เช่น
กุยช่าย ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา เป็ดตุ๋น ต่อจากนี้ก็สามารถใช้เส้นถนนทรงวาด
ไปเที่ยวสำเพ็ง เยาวราชต่อได้อีก คุ้มอย่างนี้ต้องไปลองปั่นกันดูสักครั้ง
แนะนำ / ภาพ : นนลนีย์ อึ้งวิวัฒนกุล
เส้นทางที่ 2 ผ่านรามคำแหงฉลุย เป็นไปได้ด้วยจักรยาน
จุดเริ่มต้น : วัดศรีบุญเรือง
ปลายทาง : แยกพระราม 9
ระยะทาง : ประมาณ 12 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้น : วัดศรีบุญเรือง
ปลายทาง : แยกพระราม 9
ระยะทาง : ประมาณ 12 กิโลเมตร
ผ่านถนนรามคำแหงมาหลายครั้ง หลายช่วงเวลา แต่ความสม่ำเสมอที่เส้นทางนี้มอบให้เรามาตลอด
(โดยที่เราไม่ต้องการ) ก็คือ “รถติด” อยู่มิว่างเว้น แต่ปัญหานี้จะหมดไป
เมื่อคุณเลือกใช้จักรยานเลียบคลองแสนแสบ
แนะนำให้ใช้ฝั่งรามคำแหง (ไม่ใช่ฝั่งลาดพร้าว) เริ่มจาก
วัดศรีบุญเรืองหรือที่จอดรถเดอะมอลล์บางกะปิ ปั่นเลียบกับคลองแสนแสบไปถึงซอยวัดเทพลีลา
จะเลี่ยงถนนรามคำแหงได้ถึงครึ่งทาง ทางกว้างพอควร
แต่อาจมีสิ่งกีดขวางหรือคนเดินบ้างเพราะมีชุมชนริมคลอง ต้องยกข้ามสะพานเล็กๆ บ้าง
แต่โดยทั่วไปสามารถทำความเร็วได้พอประมาณ จากนั้นสามารถไปทะลุเส้นประดิษฐมนูธรรม
(เลียบทางด่วนเอกมัย – รามอินทรา) ที่มีทางจักรยานด้วย
(ช่วยกันไปใช้อย่าให้มอเตอร์ไซค์มาเบียดเบียนไปหมด) ทะลุไปถึงแยกพระราม 9 ได้เลย ประหยัดเวลา สุขภาพจิตดีเพราะไม่เครียดกับรถติดด้วย
แนะนำ / ภาพ : ภูมิ ศิรประภาศิริ
เส้นทางที่ 3 ฟิตร่างกายเที่ยวทะเลกรุงเทพฯ
จุดเริ่มต้น : ถนนพระราม 2
ปลายทาง : ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร
ระยะทาง : ประมาณ 27 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้น : ถนนพระราม 2
ปลายทาง : ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร
ระยะทาง : ประมาณ 27 กิโลเมตร
ทริปนี้ขอท้าผู้มีความอึด
ใครอยากปั่นออกกำลังกายพร้อมชมวิวสบายตาไปด้วย ต้องไม่พลาดทางนี้ เลือกเวลาเช้าๆ
จะเหมาะสุด เริ่มจากถนนพระราม 2 เยื้องๆ เซ็นทรัลพระราม 2 จะมีป้ายบอกทางไปบางขุนเทียน
เส้นทางไม่ค่อยมีรถขวักไขว่ สามารถทำความเร็วได้ตามแต่ร่างกายอำนวย
ตรงไปตามถนนบางขุนเทียน ถนนเทียนทะเล ผ่านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
ที่มีข้อมูลเรื่องป่าชายเลนให้ศึกษากัน
สองข้างทางมีป่าชายเลนและนาเกลือ จนไปถึงชายทะเลกรุงเทพฯ
จากนั้นสามารถปั่นต่อไปเขต จ.สมุทรสาคร สักการะศาลพันท้ายนรสิงห์
นายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยในสมัยพระเจ้าเสือ
ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี
และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต
แนะนำ / ภาพ : ธเรศ ปิ่นนราทิพย์
เส้นทางที่ 4 ปั่นชิวๆ ริมเจ้าพระยาฝั่งธน ชุมชนหลากหลายศรัทธา
จุดเริ่มต้น : สะพานพุทธฯ
ปลายทาง : วัดอรุณราชวรารามฯ
ระยะทาง : ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้น : สะพานพุทธฯ
ปลายทาง : วัดอรุณราชวรารามฯ
ระยะทาง : ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เริ่มต้นจากสะพานพุทธฯ พูดถึงปั่นข้ามสะพานอย่าเพิ่งตกใจไป
เพราะที่นี่เป็นสะพานที่ชันน้อยมากจนแทบจะรู้สึกเหมือนทางราบ แถมทางค่อนข้างกว้าง
มือใหม่มือเก่าปั่นขึ้นได้สบายๆ เราเลือกชิดขวาฝั่งที่สวนกับรถยนต์
ลงสะพานแล้ววกกลับใต้สะพาน จะเจอทางจักรยานเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา
ขอบอกว่าทางเวิร์กทีเดียว เป็นทางคนและจักรยานจริงๆ ไม่ค่อยมีมอเตอร์ไซค์
แถมทางยังสภาพดีอยู่ ปั่นรับลมจากแม่น้ำมองเห็นวังจักรพงษ์อยู่ฝั่งพระนคร
ไปถึงศาลาสีฟ้ามีลายฉลุสวยงาม
เป็นสัญลักษณ์ว่ามาถึงโบสถ์ซางตาครู้สอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว ปั่นตามทางจักรยานมาอีกนิด
เราก็จะผ่านศาลเจ้าแม่กวนอิมซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3
ทะลุออกมาถนนอรุณอมรินทร์ที่วัดกัลยาณมิตรฯ
(ฝั่งตรงข้ามมีร้านอาหารชื่อดัง “ร้านลุง” กลางวันขายก๋วยเตี๋ยว ตอนเย็นอาหารตามสั่ง)
ข้ามฝั่งไป สามารถไปชมมัสยิดบางหลวง มัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกที่ชุมชนบางหลวง
จากนั้นปั่นไปตามถนนเลี้ยวขวาเข้าไป วัดอรุณฯ ได้ เรียกว่าปั่นไป
ได้เรียนรู้สถานที่สำคัญของแต่ละศาสนาไปด้วย
แนะนำ : ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์
เส้นทางที่ 5 เส้นทางโรแมนติกบนเกาะรัตนโกสินทร์
จุดเริ่มต้น : สะพานปิ่นเกล้า
ปลายทาง : สะพานพระราม 8
ระยะทาง : ประมาณ 3.5 กิโลเมตร
จุดเริ่มต้น : สะพานปิ่นเกล้า
ปลายทาง : สะพานพระราม 8
ระยะทาง : ประมาณ 3.5 กิโลเมตร
เส้นทางคลาสสิกที่นักปั่นมือใหม่หลายคนไม่น่าพลาด
สตาร์ทที่สะพานพระปิ่นเกล้า
ให้เลือกลงทางขวาเพื่อใช้ฟุตบาทถนนราชดำเนินไปชมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
หรือเลี้ยวขวาไปนิดหน่อยแวะร้านหนังสือก็องดิดได้
หากเป็นวันปกติทั่วไปก็สามารถปั่นบนฟุตบาทได้ แต่ขอแนะนำวันอันตราย คือ
ช่วงใกล้หวยออก ทางเดินจะมีพ่อค้า – แม่ค้า – ลูกค้า เดินเบียดเสียดกันเต็มไปหมด
ดังนั้นเลี่ยงไปใช้ทางหลังตึกก็ได้เช่นกัน
จากตรงนี้จะปั่นตรงไปชมความสวยงามของโลหะปราสาทก็ได้
แต่เราขอเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกคอกวัวไปหาก๋วยเตี๋ยวกินแถวบางลำพู
ที่มีให้เลือกมากมาย จากนั้นเลาะไปตามถนนพระสุเมรุ กะเวลาเย็นๆ
ไปนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวนสันติชัยปราการ เห็นวิวเรือผ่านไปมากับสะพานพระราม 8
อยู่เบื้องหลัง
มองสะพานพระราม 8 ไว้ดีๆ เพราะเราจะปั่นไปที่นั่นกัน จากสวนสันติฯ
มีทางลัดเข้าซอยวัดสังเวชจะไปโผล่ที่ถนนสามเสนได้ จากนี้ตรงไปตลอด
จนเจอสี่แยกบางขุนพรม (แยกแบงก์ชาติ) เลี้ยวซ้ายไปขึ้นสะพานพระราม 8 ซึ่งข้อดีของที่นี่คือ
ข้างบันไดสำหรับคนเดินมีทางลาดให้จูงจักรยานได้ด้วย ขึ้นไปแล้วจะปั่นช้าๆ
หรือเดินชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ ขอบอกว่า…โรแมนติกขนาดนี้
อย่าปั่นคนเดียวเลย
แนะนำโดย : นิรมล มูนจินดา
วันนี้แนะนำพอให้หายอยากก่อน 5 เส้นทาง แล้วอาทิตย์หน้ามาเจอกันใหม่นะคะ
เดี๋ยวออกไปปั่นก่อนละ... ฟิ้วววววววววววววววววว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิโลกสีเขียว
เรื่อง: กรวิกา วีระพันธ์เทพา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิโลกสีเขียว
เรื่อง: กรวิกา วีระพันธ์เทพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น